ข้อมูล อบต.
ประวัติความเป็นมาองค์การบริหารส่วนตำบลวัดแค เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง เดิมมีฐานะเป็นสภาตำบล ต่อมา ได้เปลี่ยนแปลงโดยการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ลงนามในประกาศจัดตั้งสภาตำบล จำนวน 3,637 แห่ง เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ประจำปี 2540 และประกาศดังกล่าวได้ลงในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 113 ตอนพิเศษ 52 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2539 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 เป็นต้นไป
|
วิสัยทัศน์และพันธกิจวิสัยทัศน์ (Vision) การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลวัดแค "ชุมชนน่าอยู่ เชิดชูคุณธรรม ก้าวล้ำการศึกษา พัฒนาอย่างยั่งยืน" พันธกิจ (Mission) พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จนถึงฉบับที่ 6 พ.ศ.2552 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่หลักในมาตรา 66 ให้องค์การบริหารส่วนตำบล ที่มีหน้าที่ "พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม" และ องค์การบริหารส่วนตำบลวัดแค ได้กำหนดภารกิจที่จะดำเนินการเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ ดังนี้ 1. ส่งเสริมการบริหารและการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล 2. ปรังปรุงพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้ได้มาตรฐาน และเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน และรองรับการขยายตัวด้านอุตสาหกรรม 3. ปรับปรุงภูมิทัศน์จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 4. พัฒนาระบบการศึกษาและสาธารณสุข 5. ส่งเสริมและสนับสนุนการเกษตรและอุตสาหกรรม 6. ส่งเสริมและสนับสนุนวัฒนธรรมประเพณี 7. ส่งเสริมการรักษาความปลอดภัยและบรรเทาสาธารณภัย 8. บำรุงรักษา การคมนาคมทางน้ำและทางบก การดูแลโครงการพื้นฐาน
|
|
สภาพทั่วไปและลักษณะภูมิประเทศที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล ที่ทำการ อบต. ตั้งอยู่ที่ หมู่ 3 ตำบลวัดแค อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 73120 มีเนื้อที่ประมาณ 2.2 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,375 ไร่ ตั้งอยู่ภาคกลาง เหนือระดับน้ำทะเล 2-4 เมตร มีลักษณะสภาพพื้นที่ราบลุ่ม ทิศเหนือ ติดกับ อบต.แหลมบัว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ทิศใต้ ติดกับ เทศบาลตำบลนครปฐม นครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ทิศตะวันออก ติดกับ อบต.งิ้วราย และ อบต.สัมปทวน อำภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ทิศตะวันตก ติดกับ อบต.ศีรษะทอง อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
ลักษณะภูมิประเทศ สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเลียบแม่น้ำนครชัยศรี เหมาะแก่การทำการเกษตร ลักษณะภูมิอากาศ ภูมิอากาศมี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว มีแม่น้ำนครชัยศรีไหลผ่าน 1 สาย ในพื้นที่หมู่ที่ 3, 4 บางส่วนอยู่ใกล้แม่น้ำนครชัยศรี ทำให้เกิดน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก ลักษณะของดิน พื้นดินเป็นดินร่วน ซึมซับน้ำได้ดี คุณภาพของดินดี ไม่มีปัญหาของดิน เหมาะสำหรับการประกอบ อาชีพเกษตรกรรมเพาะปลูกพืช ที่นิยมปลูกกันมากในพื้นที่นี้ก็คือ ดอกรัก มีพื้นที่ทางการเกษตร 117 ไร่ |
การเมืองการปกครององค์การบริหารส่วนตำบลวัดแค มีการเลือกตั้งแบบการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารในองค์กร- ปกครองส่วนท้องถิ่น โดยปกติแล้ว ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีที่มา 2 ประการ คือ การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงและการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยอ้อม ในองค์การบริหารส่วนตำบล เราเรียกผู้บริหารว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะทำงานภายใต้การตรวจสอบและถ่วงดุลโดย สภาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สภาท้องถิ่น) ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะทำหน้าที่บริหารงานภายในขอบเขตตามที่กฎหมายกำหนด และรับผิดชอบต่อสภาท้องถิ่น และประชาชนในเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลวัดแคมีการเลือกตั้งจาก 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 3 ชุมชนบ้านกลาง และ หมู่ที่ 4 ชุมชนบ้านสัมปทวน ซึ่งประชาชนทั้ง 2 หมู่บ้านจะลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบล(นายก อบต.) และสมาชิก อบต. มาทำหน้าที่ในการบริหารตำบล |
สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมสภาพเศรษฐกิจ สภาพทางด้านเศรษฐกิจของตำบลวัดแค ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 3 ซึ่งเป็นกึ่งสังคมเมือง ประชาชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพพนักงานรัฐ/เอกชน ธุรกิจส่วนตัว ลูกจ้างโรงงาน และหมู่ที่ 4 เป็นสังคมกึ่งชนบท ประชาชน หมู่ที่ 4 ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพ ทางการเกษตร เช่น เลี้ยงสัตว์ ทำนา ทำสวนเกษตร สวนผลไม้ ฯลฯ เป็นต้น
(ข้อมูล : เกษตรอำเภอนครชัยศรี) สภาพทางสังคม สาธารณสุข - โรงพยาบาลของรัฐ - แห่ง - ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 1 แห่ง - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล/หมู่บ้าน จำนวน 1 แห่ง (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลวัดแค ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลวัดแค) มีเจ้าหน้าที่ประจำ จำนวน 4 คน ดังนี้ 1.น.ส.สุเนตร วงศาโรจน์ ผู้อำนวยการ รพ.สต.วัดแค 2.น.ส.วรัญญา สะสมทรัพย์ นักวิชาการสาธารณสุข
อาชญากรรม ในเขตพื้นที่ตำบลวัดแคไม่พบปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด ในเขตพื้นที่ตำบลวัดแคไม่พบปัญหายาเสพติด สังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคนเพื่อให้ช่วยพัฒนาสังคมให้มีความเจริญก้าวหน้าสำหรับประเทศไทยในปัจจุบันนี้ ถือว่าการสังคมสงเคราะห์มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาสังคม ทางองค์การบริหารส่วนตำบลวัดแค จะช่วยให้ผู้พิการ ผู้ยากไร้สามารถช่วยตนเองได้ เพื่อที่จะได้มีส่วนร่วมในการทำประโยชน์ให้แก่สังคม และประเทศชาติในที่สุด |
สภาพทางการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม การนับถือศาสนา ประชาชนตำบลวัดแคส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประเพณีและงานประจำปี - งานประจำปีปิดทองหลวงพ่ออ่อนและหลวงปู่ยิ้ว - งานประเพณีทำบุญกลางบ้าน - ประเพณีลอยกระทง - ประเพณีสงกรานต์ - ประเพณีออกพรรษา - ประเพณีเข้าพรรษา - การจัดงานวันสำคัญต่างๆ เช่น วันแม่แห่งชาติ วันพ่อแห่งชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น - ประเพณีทำบุญกลางบ้าน - ภาษาท้องถิ่น ใช้ “ภาษากลาง” สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก - ชื่อผลิตภัณฑ์ : กลุ่มน้ำพริกชุมชนตำบลวัดแค - ชื่อผลิตภัณฑ์ : กล้วยตากพลังงานแสงอาทิตย์ (กล้วยไส้แตก) โดย นางสาวนุสรา ราชปี
|
การบริการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติการบริการพื้นที่ การคมนาคมขนส่ง ถนนสายรองในความรับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลวัดแค - ถนนซอยเลียบสถานีรถไฟนครชัยศรี หมู่ที่ 3 ระยะทาง 615 เมตร - ถนนซอยสถานีรถไฟนครชัยศรี หมู่ที่ 3 ระยะทาง 140 เมตร - ถนนซอยมาลัย หมู่ที่ 3 ระยะทาง 120 เมตร - ถนนซอยวัดแค (เข้าวัดแค) หมู่ที่ 3 ระยะทาง 445 เมตร - ถนนซอยวัดแค (ทางเข้าโรงเรียน) หมู่ที่ 3 ระยะทาง 245 เมตร - ถนนซอยเลียบทางรถไฟ (สะพานเหล็ก) หมู่ที่ 3 ระยะทาง 400 เมตร - ถนนซอยทางเดินเท้า (แยกที่ 1) หมู่ที่ 3 ระยะทาง 100 เมตร - ถนนซอยทางเดินเท้า (แยกที่ 2) หมู่ที่ 3 ระยะทาง 100 เมตร - ถนนเลียบคลองหลังสถานีรถไฟนครชัยศรี หมู่ที่ 4 ระยะทาง 1,924 เมตร - ถนนซอยเลียบคลองสัมปทวน-คลองไผ่นกแขวก-ค่ายลูกเสือ หมู่ที่ 4 ระยะทาง 2,477 เมตร - ถนนซอยโรงเรียนสัมปทวน หมู่ที่ 4 ระยะทาง 295 เมตร - ถนนซอยวัดสัมปทวน หมู่ที่ 4 ระยะทาง 80 เมตร - ถนนซอยวัดสัมปทวน (แยกที่ 1) หมู่ที่ 4 ระยะทาง 288 เมตร - ถนนซอยสมใจ หมู่ที่ 4 ระยะทาง 493 เมตร - ถนนซอยสุวรรณ (โรงเรียนศึกษาพิเศษนครปฐม) หมู่ที่ 4 ระยะทาง 3,270 เมตร - ถนนซอยบ้านนายสมพงษ์ ตะโกดี หมูที่ 4 ระยะทาง 354 เมตร - รถโดยสารประจำทาง สายดอนตูม – นครปฐม - รถโดยสารประจำทาง สายบางพระ – ดอนตูม การไฟฟ้า ประชาชนตำบลวัดแคมีการใช้ไฟฟ้าจำนวน 708 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 100 การประปา ตำบลวัดแคมีการใช้น้ำประปาทั้งหมด 6 หอถัง ดังนี้
ไปรษณีย์และการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์ - ไม่มี -
ทรัพยากรธรรมชาติ น้ำ มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติ คือ แม่น้ำท่าจีนที่ไหลผ่านอำเภอนครชัยศรี จึงเรียกแม่น้ำที่ไหลผ่าน เขตอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมว่า “แม่น้ำนครชัยศรี” ป่าไม้ - ภูเขา - ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - |
ข้อมูลหน่วยงานและอำนาจหน้าที่
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 (ตามมาตรา 16) 1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง 2. การจัดให้มีและบำรุงรักษา ทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ 3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ 4. การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ 5. การสาธารณูปการ 6. การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ 7. การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน 8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว 9. การจัดการศึกษา 10. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส 11. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการ เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย 13. การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ 14. การส่งเสริมกีฬา 15.การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน 16.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น 17.การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง 18.การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย 19.การสาธารสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล 20.การจัดให้มีและควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน 21.การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ 22.การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ 23.การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ 24.การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 25.การผังเมือง 26.การขนส่ง และการวิศวกรรมจราจร 27.การดูแลรักษาที่สาธารณะ 28.การควบคุมอาคาร 29.การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 30.การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 31.กิจการอื่นใด ที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552 มาตรา 66 องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 67 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก (2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ (4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ (7) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (8) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น (9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร มาตรา 68 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลอาจจัดทำกิจการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (1) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร (2) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น (3) ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ (4) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ (5) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์ (6) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว (7) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร (8) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน (9) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล (10) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม (11) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ (12) การท่องเที่ยว (13) การผังเมือง |
สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลมีภาระหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการสารบรรณการจัดทำแผนพัฒนาตำบล การจัดทำร่างข้อบัญญัติการประชุมสภา อบต. งานประชุมคณะกรรมการบริหาร การจัดทำทะเบียนคณะผู้บริหาร สมาชิกอบต.การดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจ การให้คำปรึกษางานในหน้าที่และความรับผิดชอบการปกครอง บังคับบัญชา พนักงานส่วนตำบลและพนักงานจ้าง การบริหารงานบุคคลของ อบต.ทั้งหมด การดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตต่างๆ การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยงานสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาชุมชนและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง 1. งานบริหารหั่วไป - งานสารบรรณ - งานตรวจสอบภายใน - งานบริหารงานบุคคล - งานอำนวยการและข้อมูลข่าวสาร - งานประชาสัมพันธ์ - งานอาคารสถานที่ - งานรักษาความสงบเรียบร้อย - งานสนับสนุนและบริการประชาชน - งานรัฐพิธี - งานประชาสัมพันธ์องค์กร - งานสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ - งานจัดทำข้อบังคับงบประมาณ - งานโครงการอินเตอร์เน็ตตำบล - งานประสานโครงการฝึกอบรม - งานการประชุมกลุ่มพลังมวลชนอื่นๆ - งานอำนวยการและประสานราชการ - งานชุมชนสัมพันธ์ - งานอื่นๆ ที่มิได้กำหนดว่าเป็นภารกิจหรือความรับผิดชอบของส่วนราชการใด 2. งานนโยบายและแผน - งานนโยบายและแผนพัฒนา - งานวิชาการ - งานงบประมาณ - งานข้อมูลข่าวสารของทางราชการ 3. งานกฏหมายและคดี - งานกฏหมายและคดี - งานนิติกรรมและสัญญาต่างๆ - งานการดำเนินการทางคดีและศาลปกครอง - งานร้องเรียนร้องทุกข์และอุทธรณ์ - งานระเบียบการคลัง - งานข้อบัญญัติและระเบียบของ อบต. - งานให้คำปรึกษาทางกฏหมายและคดีแก่ประชาชน - งานคุ้มครองและบำรุงรักษาทรัพย์สินของทางราชการและสถานที่สาธารณะ - งานระเบียบข้อบังคับการประชุมสภาฯ - งานการประชุมสภา อบต - งานประชุมคณะกรรมการสามัญและวิสามัญประจำสภา อบต. - งานติดตามผลการปฏิบัติงานตามมติที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล - งานเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต. - งานข้อมูลการเลือกตั้ง - งานส่งเสริมและสนับสนุนความรู้และวิชาการแก่สมาชิกสภา อบต. 4. งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย - งานอำนวยการ อปพร. - งานป้องกันสาธารณภัย - งานช่วยเหลือฟื้นฟูบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรผู้ประสบภัย - งานช่วยเหลือและให้บริการประชาชนในกิจการสาธารณประโยชน์ 5. งานกิจการสภา อบต. - งานระเบียบข้อบังคับประชุม - งานการประชุม - งานอำนวยการและประสานงาน |
กองคลังมีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีและทะเบียนรับ-จ่ายเงินทุกประเภท งานเกี่ยวกับการเงิน การเบิกจ่ายเงินการเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน การตรวจเงิน อบต. รวบรวมสถิติเงินได้ ประเภทต่างๆ การเบิกตัดปี การขยายเวลาเบิกจ่ายงบประมาณ การหักภาษีและนำส่งเงินคงเหลือ ประจำวัน การรับและจ่ายขาดเงินสะสมของ อบต. การยืมเงินทดรองราชการ การจัดหาผลประโยชน์ จากสิ่งก่อสร้างและทรัพย์สินของอบต. ตรวจสอบงานของจังหวัดและสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ในการเร่งรัดใบสำคัญและเงินยืมค้างชำระ การจัดเก็บ ภาษี การประเมินภาษี การเร่งรัดจัดเก็บรายได้ การพัฒนารายได้ การออกใบอนุญาตและค่าธรรมเนียม ต่างๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง 1. งานการเงิน มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้ - งานรับเงินและเบิกจ่ายเงิน - งานจัดทำฎีกาเบิกจ่ายเงิน - งานเก็บรักษาเงิน - งานรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดตั้งงบประมาณรายรับรายจ่าย ประจำปี - งานตรวจสอบหลักฐานเกี่ยวกับการเงิน - งานอื่นๆที่เกี่่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย 2. งานบัญชี มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้ - งานการบัญชี - งานทะเบียนคุมการเบิกจ่ายเงิน - งบงานการเงินและงบทดลอง - งบรายงานแสดงฐานะทางการเงินและบัญชี - งบรายงานทางการเงินและบัญชีทั่วไปของส่วนราชการและบัญชีรายได้แผ่นดิน - งานอื่นๆที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย 3. งานพัฒนาจัดเก็บรายได้ มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้ - งานภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและค่าเช่าและรายได้อื่นๆ - งานพัฒนาปรับปรุงรายได้งานควบคุมกิจการค้าและค่าประกัน - งานทะเบียนควบคุมและเร่งรัดรายได้ - งานออกหมายเรียกและหนังสือเชิญพบกิจการค้า - งานตรวจสอบและประเมินภาษี - งานการนำส่งเงินรายได้ - งานอื่นๆที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย 4. งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้ - งานทะเบียนทรัพย์สินและแผนที่ภาษี - งานพัสดุ (การจัดหา จัดซื้อจัดจ้าง การเบิกจ่าย การเก็บรักษา การซ่อมแซมและการบำรุงรักษา) - งานการจัดทำบัญชีและทะเบียนพัสดุ - งานการเก็บเอกสารสำคัญหลักฐานรวมถึงเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับพัสดุ - งานอื่นๆที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย |
กองช่างมีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการสำรวจออกแบบและจัดทำโครงการใช้จ่ายเงินของอบต.การอนุมัติ เพื่อดำเนินการตามโครงการที่ตั้งจ่ายจากเงินรายได้ของ อบต. งานบำรุงซ่อม และจัดทำทะเบียน สิ่งก่อสร้าง ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ อบต.การให้คำแนะนำปรึกษา เกี่ยวกับการจัดทำโครงการ และการออกแบบ ก่อสร้าง แก่อบต. และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง งานควบคุมอาคาร การดูแล ควบคุม ปรึกษา ซ่อมแซม วัสดุครุภัณฑ์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง 1. งานก่อสร้าง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ - งานก่อสร้างและบูรณะถนน - งานก่อสร้างและบูรณะสภาพและโครงการพิเศษ - งานระบบข้อมูลและแผนที่เส้นทางคมนาคม - งานบำรุงรักษาเครื่องจักรและยานพาหนะ 2. งานออกแบบและควบคุมอาคาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ - งานสถาปัตยกรรมและมัณฑศิลป์ - งานวิศวกรรม - งานประเมินราคา - งานควบคุมการก่อสร้างอาคาร ฝ่ายบริการข้อมูลและหลักเกณฑ์ - งานจัดตกแต่งสถานที่ 3. งานผังเมือง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ - งานสำรวจและแผนที่ - งานวางผังพัฒนาเมือง |